Archive

Posts Tagged ‘ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์’

ออกซี่เตตร้าไซคลิน ยาสามัญประจำฟาร์ม

สวัสดีครับ หายหน้าไปหลายวันพอดีกลับบ้านนอกมาครับพึงกลับมาถึง เลยไม่ค่อยได้อัพเดทบล็อกเท่าไหร่ วันนี้เรามาคุยกันเบาๆอีกครั้ง เอาเป็นว่าผมมีคำถามหลายท่านๆท่านที่เลี้ยงแพะ ว่า แพะป่วยท่านจะฉีดยาตัวไหน เรียกหมอมารักษา บางท่านก็หมอแอมมอกซี่ บางท่านก็หมอเพนสเตร็บ (คือประมาณว่าเอะอะอะไรข้าก็ฉีดยาตัวนี้ยันเต) ไม่ว่าแพะท่านอาการอะไร ปวดหัวตัวร้อน ท้องอืด จุกเสียดฯลฯ เนื่องจากยาพวกนี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์กว้าง รักษาได้หลายโรค

วันนี้ผมมียาแนะนำมาอีกตัวครอบจักรวาลสุดๆ เรียกว่าท่านควรมีไว้เป็นยาสามัญประจำฟาร์ม ก็ได้ ยาตัวนั้นคือ ยาที่ขึ้นตามหัวเรื่องหนะแหละครับ ออกซี่เตร้าไซคลิน หรือ OYTERACYCLINE ในภาษาปะกิด อียาตัวนี้มีมานานมากแล้ว ถ้าจำไม่ผิดในคนที่ใช้กัน น่าจะพวก ฮีโร่มัยซินที่ ชอบโฆษณาทางวิทยุเอเอ็ม มีทั้งในรูปแบบกิน หรือฉีด ถ้าเป็นแบบกินจะมีอีกรูปแบบนึงคือดอกซี่ไซคลิน (DOXYCYCLINE) แต่ในระบบฟาร์มการให้แบบกินคงจะค่อนข้างลำบาก ก็เลยไม่ขอกล่าวถึงตัวนี้นะครับ

เอาหละผมจะเล่าถึงสรรพคุณ ของยาตัวนี้นะครับ ยาตัวนี้เป็นยาในกลุ่ม เตตร้าไซคลิน รู้สึกว่าจะเกิดขึ้นจากการผลิตสีที่ผิดพลาดยังไงนี่แหละ ถ้าผิดก็ขออภัยด้วยนะครับ ท่านผู้รู้กรุณาติดต่อมาได้นะครับ จุดเด่นของมันคือ เด่นในการฆ่าพยาธิในเม็ดเลือดโดยเฉพาะพวกที่ชอบเกาะตามผิวนอกของเม็ดเลือดแดง เช่น อนาพลาสมา และยิ่งเด่นมากในเชื้อแบคทีเรียพวกพวกพาสเจอเรลลา เชื้อคลามัยเดีย และอื่นอีกมากมายจะไม่ขอกล่าวถึง (เพราะจำไม่ได้ อิอิ) ในอดีตใช้เป็นยารักษาวัณโรคในคน ทีนี ทำไมผมถึงกล่าวถึงเชื้อพวกนี้ เอาหละมันมีเหตุผล ผมมีคำถามท่านเจ้าของแพะดังนี้

1.ท่านเคยเจอแพะ ที่มีเยื่อบุตาซีดๆบ้างหรือไม่
2.ท่านเคยเดินดูแพะตอนเช้ามืดแล้วเห็นแพะไอโขลกๆ กระแทกๆบ้างหรือไม่
3.ท่านเคยเห็นแพะตาแดงๆบ้างหรือไม่
4.แพะของท่านเลี้ยงในพื้นที่ที่มีเหลือบ ริ้น ไร เห็บ เหา และเคยเจอไอ้พวกนี้ในแพะของท่านบ้างหรือไม่

จากคำถามทั้ง 4ข้อ เนี่ยมันมีผู้รู้ซึงส่วนมากจะเป็นฝรั่งทำวิจัยมาเยอะ แต่ก็ช่างมันเถอะมันไม่ได้มาทำในบ้านเรา เอาประสบการณ์ส่วนตัวผมดีกว่า ทั้ง4ข้อเนี่ยมันมีโอกาศเป็นโรคอะไรได้บ้าง

1.โรคพยาธิเม็ดเลือด ถ้าแพะท่านซีดๆ และมีเหลือบเยอะๆ เห็บเยอะๆ เหาเยอะๆนี่ อนุมานได้ว่าท่านมีแพะที่เป็นโรคนี้แน่นอนแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ แล้วแพะของท่านจะอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงโรคอื่นๆจะตามมา โรคนี้เกิดจากเชื้อ อนาพลาสมา

2.โรคปอด ที่เกิดจากเชื้อพาสเจอเรลลา ซึ่งเชื้อพวกนี้จะพบอยู่แล้วในทางเดินหายใจ อาศัยเป็นปกติ วันดีคืนร้ายพวกก็จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อภูมิคุ้มกันแพะมันลดลง แล้วกลายเป็นเชื้อร้าย กลายเป็นแพะปอดบวม ตายได้ง่ายมาก บางตัวป่วยตอนเย็นตายตอนเช้าเลยก็มีบางตัวดีหน่อยกลางวันไม่แสดงอาการ แต่จะไอตอนกลางดึกหรือเช้ามืด

3.โรคตาแดง ในแพะที่รวมฝูงมากๆเมื่อมีขี้เยี่ยวมากๆ ก็ย่อมมีแอมโมเนียมาก ซึ่งแอมโมเนียเป็นก๊าซที่ค่อนข้างระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ทำให้ตาติดเชื้อได้ง่าย ก็เป็นโรคตาแดงส่วนมากจะเป็นเชื้อคลามัยเดีย

เมื่อมีผู้ร้าย แล้วเราก็มีพระเอกมาช่วยครับ นั่นก็คือออกซี่เตร้าไซคลิน ซึ่งมันตอบได้เกือบทุกประเด็นแถมยังป้องกันโรคอื่นๆได้อีกด้วย ทั้งนี้ผมอยากให้เลือกใช้ยาตัวนี้ในการมุ่งประเด็นพยาธิเม็ดเลือดมากกว่า เนื่องจากมันเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้ภูมิคุ้มกันแพะลดลงแล้วเชื้อแทรกซ้อนตามมา ดังนั้นเมื่อเห็นแพะแสดงอาการดังกล่าวมาแล้วความเห็นส่วนตัวน่าจะเลือกใช้ยาตัวนี้ก่อน เหมือนหว่านแห แต่ก็ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

ในกรณีที่มีหมอมารักษาที่ฟาร์ม แนะนำให้ท่านเลือกใช้ยาตามหมอสั่งจะดีกว่า อย่าเถียงหมอนะครับ เพราะหมอเขาเห็นด้วยตามันอาจจะวินิจฉัยได้แม่นยำกว่า อีกอย่างนึงที่อยากแนะนำยาตัวนี้เนื่องจากเราสามารถกำหนดเป็นโปรแกรมป้องกันได้ เพราะเราก็รู้อยู่แล้วว่าโรคพวกนี้มักเกิดในช่วงเปลี่ยนอากาศโดยเฉพาะฤดูฝน เมื่ออากาศเราคุมไม่ได้ แมลงเราคุมไม่ได้ เราก็ต้องมาอยู่ด้วยกันกับโรคอย่างสันติ ที่ผมแนะนำคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอากาศอย่างรุนแรงแนะนำให้ใช้ออกซี่เตตราไซคลิน ร่วมกับเบเรนิล ลงอาทิตย์ละครั้ง 2ครั้งติดกัน หรืออาจจะฉีดออกซี่เตตราไซคลิน 2ครั้งเบเรนิล 1ครั้ง ทำอาทิตย์ละครั้งก็ได้ โดสยาที่ใช้ ก็ตามโดสข้างกล่อง หรือสงสัยให้สอบถามสัตวแพทย์ใกล้บ้านท่าน

โดยส่วนตัวยายี่ห้อที่ใช้ประจำและให้ผลดีคือ เทอรามัยซิน 200 แอล เอ ของบ.ไฟเซอร์ เพราะยาไม่หนืดมากฉีดง่าย แถมเปิดขวดแล้วยาไม่ค่อยเปลี่ยนสีง่าย แต่ราคาค่อนข้างแพง อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่ายาตัวอื่นไม่ดีใช้ยี่ห้ออื่นก็ได้ แต่ขอแนะนำให้ใช้พวก แอล เอ (ย่อมาจากคำว่า ลอง แอคติ้ง)ออกฤทธิ์ประมาณ 2-3วัน อย่างไรก็ตามยังขอย้ำอีกว่าการเลือกใช้ยาควรอยู่ในดุลยพินิจของสัตวแพทย์นะครับ ถ้าจำเป็นและไม่มีสัตวแพทย์อยู่ ก็ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำข้างกล่องอย่างเคร่งครัด แล้วเราจะอยู่กับโรคโดยสันติสุข เพิ่มผลผลิต และผลกำไร

ยารักษาโรคบิดในแพะและการจัดการ

อาการเป็นบิดในแพะ ถ้าแพะไม่ตายเสียก่อน แพะจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถหายเองได้แพะจะไม่แสดงอาการท้องเสียอีก แต่แพะตัวที่หายป่วยแล้วจะเป็นตัวการสำคัญในการแพร่กระจายเชื้อ ดังนั้นถ้าสังเกตุเห็นอาการแรกเริ่มแล้วเริ่มแยกแพะตัวสงสัยออกจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อได้

เมื่อเริ่มมีการระบาดควรจัดการให้ฝูงแพะมีขนาดเล็กลง อาจจะแยกคอกย่อย หรือหาคอกว่างๆเพิ่มขึ้น รางน้ำรางอาหารถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนใหม่หมดเพื่อลดไม่ให้มีอุจจาระแพะปนเปื้อนและควรเป็นแบบที่แพะไม่สามารถเดินบนรางอาหารได้ การให้อาหารกับพื้นดินควรงด วัสดุปูรองต่างๆให้เปลี่ยนให้ถี่ขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มแพะเล็ก หรือแม่แพะเลี้ยงลูก อย่างไรก็ตามในกรณีที่แพะแสดงอาการรุนแรงสามารถเลือกให้ยาเพื่อการรักษาได้

ในรายที่มีอาการควรให้ยาปฎิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่นๆแทรกซ้อน ยาเคลือบลำไส้ควรให้คู่กันเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ในยที่เสียน้ำมากๆควรให้น้ำเกลือร่วมด้วย

ยาปฎิชีวนะที่ควรเลือกใช้ควรจะเป็นกลุ่มซัลฟา เนื่องจากมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มปริมาณเชื้อในร่างกายแพะและป้องกันเชื้ออื่นแทรกซ้อน แล้วให้แพะมีการการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อรักษาตัวเอง แต่ยากลุ่มนี้มีการใช้มานานกว่า50ปีแล้วบางกรณีเชื้ออาจมีการดื้อยา การเลือกใช้ยาร่วมกันระหว่างกลุ่มซัลฟา(เช่น sulfamethazine, sulfaquinoxaline) กับionophores(เช่นmonensin, lasalocid) อาจจะให้ผลดีกว่า

แต่ในความเป็นจริงยากลุ่มionophores(เช่นmonensin, lasalocid) มีราคาค่อนข้างแพงเผลอๆ บ้านเราไม่มีขายด้วย การใช้ยาซัลฟาคุณภาพดีและใช้ต่อเนื่องกันแบบครบโด๊ส ก็พอช่วยได้บ้าง มียาอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการใช้ควบคุมบิดในไก่เช่น Amprolium ก็พอใช้ได้เป็นแบบละลายน้ำ(แต่ปัจจุบันรู้สึกว่าจะไม่มีขายในบ้านเรามา 5-6ปีแล้ว) ยากลุ่มที่พอมีขายในบ้านเราและพอใช้ได้ คือ Toltrazurilแต่ราคาแพงมาก แนะนำใช้ในลูกแพะเ หมาะสำหรับฟาร์มที่ขายพันธ์ โดสที่ใช้ 25มก/กก ถ้าใช้แบบ 2.5% ก็ประมาณ 1ซีซี/ กก ถ้าจะให้ดีควรให้กับลูกแพะอายุประมาณ2สัปดาห์